Google
 

Thursday, April 8, 2010

เที่ยวเมืองน่าน แม้จะร้อนแต่ก็อิ่มเอมในศิลปะ

ไป เมืองน่านในฤดูร้อนแห่งเดือนเมษา ท่ามกลางอากาศร้อน ร้อนทั้งลมและร้อนแรงด้วยเปลวแดด ถูกซ้ำเติมด้วยภาวะโลกร้อน สองข้างทางระหว่างเมืองแพร่ไปเมืองน่าน เส้นทาง ผ่านภูเขาซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพแห้งแล้ง ต้นไม้ใบหญ้าบนภู เขาตลอดเส้นทางเหี่ยวแห้งใบร่วงโกร๋น ทุ่งหญ้าบนเขาหัว โล้น มีภาพแห้งแล้งจนทุ่งหญ้าใบเหลืองเต็มทุ่ง เมือง น่านแม้อยู่บนเขาสูง เป็นเมืองแห่งต้นน้ำน่าน อากาศ ยังร้อนแรงถึงเพียงนี้ โอ้โอ๋เมืองน่าน จะร้อนอย่างนี้ไปอีกกี่วันหนอ ?

พอ เข้าเขตตัวเมืองน่านค่อยอุ่นใจหน่อยที่เห็นผู้คนนักท่องเที่ยว หลายกลุ่มมุ่งมาเที่ยวจังหวัดน่านเหมือนกัน แม่น้ำน่าน ในเมืองน่านแม้ปริมาณจะลดน้อยลงไป แต่ก็ยังสามารถใช้แข่งเรือเล็กขนาด 12 ฝีพาย ได้ ไปเมืองน่านตอน นี้เขามีงานเทศกาลแข่งเรือเล็กพอดี ตอนเย็นใกล้ค่ำในลำ น้ำน่านจะเห็นเขาซักซ้อมแข่งเรือ

พระธาตุแช่แห้ง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองน่าน อยู่อำเภอภูเพียง แค่ข้ามสะพาน แม่น้ำน่านไปก็เข้าเขตอำเภอภูเพียงแล้ว ป้าย หน้าประตูก่อนเข้ากำแพงพระธาตุ มีสัญลักษณ์กระต่าย แสดงว่าเป็นพระธาตุของผู้ที่เกิดปีกระต่าย(เถาะ) แต่ ผู้ที่เกิดปีอื่นๆ ก็มาไหว้พระธาตุแห่งนี้ได้ตามศรัทธา ประสาทะ ก็เป็นมงคลเหมือนกัน

เมืองน่านมี สิ่งจูงใจให้นักท่องเที่ยวมาพักแรมได้อย่างสบายใจเฉิบ เพราะที่พักราคาถูกมาก เพิ่งสร้างเสร็จใหม่เอี่ยมราคา เพียงคืนละ 350 บาท ตั้งอยู่ในเมือง มีแถมกาแฟและอาหารเช้า ราคาถูกให้ด้วย คงไม่ ต้องบอกกันละครับว่าที่พักแห่งนี้ชื่ออะไรเมืองน่านเล็กนิดเดียว ไม่ยากที่จะถามหาเพราะเป็นสถานที่ยังใหม่อยู่ น่ะครับ

ในตัวเมือง น่าน ไม่พลาดที่จะไปเที่ยววัดภูมินทร์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ วัด พญาภู วัดช้างค้ำ เพราะอยู่ในย่านบริเวณเดียว กัน เพียงจอดรถแล้วเดินเที่ยวสถานที่เหล่านี้ได้อย่างทั่วถึง และ หาของกินที่บ้านคุณหลวงข้างวัดภูมินทร์โดยไม่ต้องไปที่ไหนๆ ให้ยุ่งยาก เพราะจะได้มีเวลาหามุมมองท่องเที่ยว ถ่ายภาพอย่างไม่ต้องอนาทรร้อนใจ เข้าไป ในโบสถ์จตุรมุขที่ตั้งอยู่บนหลังพญานาคคู่ที่งามสง่าสวยงามเป็น เอกลักษณ์มาตั้งแต่โบราณกาล สมัยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมิ นทร์ เจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2319

หนึ่งเดียว แห่งความงดงามทางศิลปะสถาปัตย์ที่ลงตัว ของวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน ไม่เพียงแต่เท่านั้นภายในโบสถ์จัตุรมุข ยังมีภาพจิตกรรมฝาผนังบอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติไว้ด้านบน ส่วนด้านล่างเป็นภาพบ่งบอกเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนในโลก ทั้งการเดินทางไปมาหาสู่ค้าขายด้วยเรือสำเภา เรื่องราวในชีวิตประจำวัน ถึงแม้อยู่ในระหว่างการทำมาหากิน แต่ก็ยังอดมีความรักความใคร่ เกี้ยวพาราสี ล้วงคลำจับเต้าอย่างมีสิเนหา ชวน ให้ผู้พบเห็นดูภาพฝาผนังเกิดจินตนาภาพที่เร้าเริงใจเสียนี่กระไร

แต่ อีกหนึ่งภาพ แม้จะดูเป็นธรรมดา แต่ก็ถูกยกให้เป็นภาพอัมตะนิ รันดร์กาล ที่ใครๆ เมื่อได้มาพบเห็น ไม่ ว่านักท่องเที่ยวผู้นั้นจะเป็นคนไทย หรือฝรั่งต่างชาติ จะ ประทับใจกับภาพที่ได้ชื่อว่า กระซิบ สวาท ระหว่างหนุ่มสาว ที่ เจ้าหนุ่มกำลังป้องปากกระซิบข้างหูแม่สาวน้อย จนมีอาการเอียงอาย กับการหัวร่อต่อระซิกของเพื่อนสาวในกลุ่ม

ยัง มีอีกหลายภาพในผนังโบสถ์วัดภูมินทร์ที่บ่งบอกถึง โลกียะ ของวิถีชีวิตผู้คนอันเป็นธรรม ดาในวัฏะสงสาร ส่วนผนังด้านบนเป็นภาพพุทธประวัติ บ่งบอกเรื่องราวของพระพุทธองค์ที่บรรลุสูงสุดสู่ความหลุดพ้นแล้ว ถึงขั้น โลกุตระ

ไปเมือง น่านทั้งที ไม่พลาดที่จะไปอำเภอท่าวังผา เพื่อชมศูนย์ศิลปะริมน่าน ที่มีทั้งอาคารทรงแปลก และภาพศิลปะที่แสดงตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน เดินชมได้ อย่างอิ่มเอมใจในงานศิลปะ ที่สร้างสรรค์ไว้ให้ชมกันทั้งภายในและ ภายนอก และเมื่อเลยเข้าไป ในเขตอำเภอท่าวังผา ที่วัดหนองบัว ก็มีภาพจิตรกรรมฝาผนังให้ชมด้วยซึ่งส่วนใหญ่เลอะเลือนไปมาก ใกล้ วัดหนองบัวนี่มีร้านทอผ้าซิ่นม่าน ซึ่งเป็นศิลปะการทอผ้าของชนเผ่าไทย ทรงดำให้ชมกันด้วย

หางพญานาควัดพระธาตุแช่แห้ง และวิหารพระนอน

เศียรพญานาคอันโดดเด่นของวัดพระ ธาตุแช่แห้ง

วัดภูมินทร์ วัดที่มีศิลปะทั้งภาย ในและภายนอกอันเลื่องนี้

ถ่ายหน้าโบสถ์ทางทิศตะวันตก

พระประธาน 4 ทิศ ในโบสถ์วัดภูมินทร์

ด้านหน้าโบสถ์วัดภูมินทร์มุมนี้เคย อยู่ในธนบัตร 1 บาท สมัย ร.8

มุขโบสถ์ทางทิศตะวันออกสะท้อนแสงยามเช้า

ภาพกลุ่มหนุ่มเกี้ยวพาราสี กระซิบสาว

ภาพกระซิบสวาทอันลือลั่น กับนักเรียนมาช่วยอธิบาย

บทรักไม่เลือกที่ หนุ่มนักดนตรีหนุ่มวางพิณกอด สาวขณะกำลังสาวไหม

สิ่งของที่นำมาแสดงในพิพิธภัณฑ์ของวัด ภูมินทร์

หางเรือแข่งเมืองน่าน

หัวเรือแข่งเมืองน่าน

เจ้าเมืองน่าน หน้าพิพิธภัณฑ์สถานฯ เมืองน่าน

มองจากหน้าต่างพิพิธภัณฑ์ เห็นเจดีย์วัดช้างค้ำ

หน้าโบสถ์วัดศรีพันต้น กับหัวเรือแข่งเมืองน่าน

พระประธานในโบสถ์วัดศรีพันต้น

ซุ้มประตูโบสถ์วัดศรีพันต้น

วัดหัวข่วงกับหอไตรไม้แกะสลัก และเจดีย์ทรงแปลก

พระประธานวัดหัวข่วง

เจดีย์วัดช้างค้ำ

โบสถ์วัดช้างค้ำ

พระประธานวัดช้างค้ำ

พญานาคหน้าโบสถ์วัดพญาภู

โบสถ์วัดสวนตาล

พระประธานในโบสถ์วัดสวนตาล

อาคารแสดงสินค้าของหอศิลป์ริมน่าน

วัตถุศิลป์ ภายในอาคารแสดงงานศิลป์ เรือนศรีนวล

หน้าต่างเรือนศรีนวล มองเห็นทิวเขาทุ่งนาเหลืองเขียว

ปฏิมากรรมห่วงเหล็กต่อกันเป็นพระพุทธรูป แสดงไว้ในหอศิลป์

ศิลปะภาพดอกบัว

งานแสดงศิลปะภาพวาด กับปฏิมากรรมไม้ เตียงนอนแบบเอนๆ

เฮือนบัวผันแสดงศิลปะภาพที่ถ่ายมาจากวัด ภูมินทร์ และงานศิลปะต่างๆ

ศิลปินกำลังวาดภาพ ภายในอาคารเฮือนบัวผัน

ศิลปินกำลังวาดภาพเรือแข่ง

อาคารแสดงศิลปะด้านบนเฮือนบัวผั

งานศิลปะ แสดงไว้ภายในอาคาร

ชาวบ้าน บ้านหนองบัว กำลังทอผ้าซิ่นม่าน ศิลปะชาวไทยทรงดำ

หน้าโบสถ์วัดหนองบัวมีภาพวาดฝาผนัง(ส่วน ใหญ่เลือนลาง) ฝีมือคล้ายวัดภูมินทร์

วิหารวัดหนองบัว ปรับปรุงใหม่ ที่ อ.ท่าวังผา

โบสถ์วัดภูมินทร์ มองจากด้านตะวันออก

No comments: