Google
 

Sunday, April 18, 2010

"หลีเป๊ะ" สวรรค์ของคนรัก ทะเล ความงามท่ามกลางกระแสการพัฒนา

หลีเป๊ะ’สวรรค์ของคนรักทะเล
ความงามท่ามกลางกระแสการ พัฒนา

รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว

หน้าร้อน 2553 ร้อนเร็วและร้อนกว่าปีก่อนๆ หลับตาเห็นภาพน้ำใสๆ สีฟ้าๆ หาดทรายขาวๆ
ลม ทะเลเย็นๆ เป็นภาพที่เรียกร้องให้รีบออกเดินทางในเร็ววัน

ว่า แล้วไม่รอช้ารีบมุ่งหน้าไปยังท่าเรือปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ด้วยมีจุดหมายปลาย
ทางไปหลบลมร้อนที่เกาะหลีเป๊ะ

หลีเป๊ะ แปลว่าแผ่นกระดาษ เป็นภาษาชาวเล ชนกลุ่มแรกที่อพยพจากอาเจะห์ ประเทศ
อินโดนีเซีย เข้ามาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งนี้

เกาะหลีเป๊ะ เป็นเกาะในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ตั้งอยู่สุดเขตแดนทะเลภาคใต้
ในกลุ่มหมู่เกาะอาดัง – ราวี อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะตะรุเตา ห่างจากท่าเรือปากบารา 62
กิโลเมตร มีจุดดำน้ำดูปะการัง ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึกอยู่หลายเกาะ

มีทั้งเรือเฟอร์รี่ที่มีห้องโดยสาร ติดแอร์เย็นฉ่ำ แต่ต้องใช้เวลายาวนานเกินสองชั่วโมงลอยอยู่
กลางทะเล กับเรือสปีดโบ๊ท ที่ใช้เวลาเดินทางแค่ชั่วโมงเศษๆ ก็ถึงที่หมาย

เราไม่รีบร้อน เลยเลือกเดินทางกับเรือเฟอร์รี่

เรือ วิ่งผ่านอ่าวปากบาราที่อีกไม่นานจะมีการถมทะเล สร้างท่าเรือน้ำลึกยื่นลง ไปในเวิ้งอ่าว
พุ่งไกลออกไปกลางทะเลหลังเขาใหญ่หลายกิโลเมตร มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท

เกาะ ตะรุเตาปรากฏชัดขึ้น เรือค่อยๆ เคลื่อนเข้าใกล้เกาะ เพื่อส่งผู้โดยสารบางคนที่นี่
มีเรือหัวโทงของชาวประมงเข้ามาเทียบ รับผู้โดยสารจากเรือเฟอร์รี่ถึงกลางทะเล

ท่องอยู่ในทะเลต่ออีกไม่นานก็ถึงที่หมาย ผู้โดยสารทยอยลงจากเรือเฟอร์รี่สู่เรือหัวโทง
ของชมรมเรือหางยาว เกาะหลีเป๊ะ ที่มารอรับอยู่ในทะเลห่างฝั่งไม่มากนัก เราต้องเสียค่า
บริการ อีกคนละ 50 บาท

ที่นี่ ไม่ว่าจะเรือเฟอร์รี่ หรือสปีดโบ๊ท จะไม่เข้าไปส่งหรือรับผู้โดยสารถึงฝั่ง

จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกระจายรายได้สู่ชาวบ้าน ทั้งที่เป็นชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ
และชาวประมงพื้นบ้านจากแนวชายฝั่งจังหวัด สตูล ที่นำเรือหัวโทงกว่า 200 ลำ เข้ามา
บริการนำนักท่องเที่ยวจากเรือเฟอร์ รี่และสปีดโบ๊ทขึ้นไปบนเกาะ และจากเกาะมาส่ง
ที่โป๊ะกลางทะเล เพื่อขึ้นเรือกลับ

หาดพัทยาทางทิศตะวันตกของเกาะ โค้งเว้าเป็นรูปครึ่งวงกลม ทรายขาวสะอาดตลอดแนว
เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตก ที่สวยสุดๆ

ถัดจากแนวหาดขึ้นไปเป็นที่ ตั้งของรีสอร์ทหลายแห่ง บริเวณหน้าเกาะเป็นโขดหิน ที่พัก
ปลูกสร้าง บนเนิน จึงชมทิวทัศน์ได้สวยงาม

ชายหาดด้านนี้เป็นที่นิยม ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะนอกจากมีที่พักแล้ว ยังมีร้าน
ขาย ของชำ ร้านอาหาร ร้านให้เช่าอุปกรณ์ดำน้ำ และมีเรือหางยาวให้เช่าไปยังเกาะ ต่างๆ

เราไปพักที่หาดชาวเลฝั่งตะ วันออกของเกาะ ชายหาดทอดยาวหลายร้อยเมตร ร่มรื่นด้วย
ทิวสนน้อยใหญ่ เรียงรายตลอดแนว ชมพระอาทิตย์ขึ้นได้สวยงาม มองเห็นหน้าเกาะอาดัง
อยู่ ห่างเพียง 800 เมตร มีบ้านชาวเลอยู่กระจัดกระจาย มีรีสอร์ทที่พักริมหาดให้เลือก
ใช้บริการหลายระดับ

โชคดีตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ น้ำลงจนเราเดินลงไปในทะเลได้ไกลเป็นกิโลเมตร

น้ำใสๆ หาดทรายขาวๆ กระเพื่อมไหวคล้ายกวักมือเชิญชวน เดินลึกลงไปไกลเท่าไหร่
น้ำก็ยัง ไม่ท่วมหัวเข่า ฝูงปลาน้อยใหญ่ว่ายวนเวียนเหมือนคุ้นเคย เห็นชัดทุกอณูเม็ดทราย

ปะการังน้ำตื้นบางส่วนโผล่ พ้นน้ำ หอยเม่นสีดำขลับ ขนแหลมน่ากลัว แต่จ้องมองนานๆ
กลับน่ารัก ตาสีส้มตรงกลางตัวโดดเด่น เกาะนิ่งอยู่ตามกองปะการัง หอยมือเสือหลากสีปาก
ขยับ เมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวเข้าไปใกล้ๆ สีม่วง สีฟ้า สีน้ำเงิน สีน้ำตาลขอบเหลือง สีเทา
ปลาการ์ตูนว่ายหายวับเข้าไปในดอกไม้ทะเล เพียงแต่เรายืนนิ่งๆ ปลาการ์ตูนก็ค่อยๆ
โผล่หน้า เมื่อเห็นว่าปลอดภัย ก็จะออกมาว่ายเล่นใกล้ๆ

ถึงกระนั้นเวลาเดินก็ควร ระวัง เพราะอาจจะเหยียบเอาปลากระเบนที่นอนนิ่งอยู่ตาม
ท้องทราย หากโดนหางปลากระเบนตำ จะเจ็บปวดทรมานไม่แพ้โดนเงี่ยงปลาดุกแทง


งาม – หินเกลื่อนเกาะหินงาม เป็นอีกความงามที่หมู่เกาะอาดัง – ราวี

หาดชาวเลมีเกาะเล็กๆ 3 เกาะ เป็นฉากหลัง ทำให้ดูไม่เวิ้งว้าง ทางซ้ายมือคือเกาะกระ
เกาะตรง กลางห่างออกไปคือ เกาะตาหลัง ส่วนเกาะทางขวามือคือเกาะกุเส็น ทั้งเกาะกระ
กับ เกาะกุเส็น ในช่วงน้ำลงสามารถเดินไปเที่ยวเล่นได้

ของกินบนเกาะหาได้ง่าย โดยเฉพาะอาหารทะเลสดๆ แต่ราคาค่อนข้างแพง ด้วยของ
ส่วนใหญ่ต้องขนมาจากบน ฝั่ง ประกอบกับฝรั่งมังค่ามาเที่ยวเยอะ หลายอย่างบนเกาะจึง
ปรับ ราคารับนักท่องเที่ยว

ส่วนที่พักมีตั้งแต่ราคา ถูกๆ ไปจนถึงแพงระยับ คืนละ 350 – 20,000 บาท มีทั้งพักรายวัน
และราย เดือน

ระยะหลังๆ มานี้ กลุ่มนักท่องเที่ยวเปลี่ยนจากกลุ่มแบ็คแพ็ค เป็นกลุ่มคนชั้นกลางที่มา
เที่ยว กันเป็นครอบครัว จากย่านยุโรป

“คนไทยก็มาเที่ยวกันเยอะ ขึ้นครับ” เป็นคำบอกเล่าของคนบนเกาะ

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มา จากนอกเกาะ แต่ก็ยังเป็นคนท้องถิ่นแถบจังหวัดสตูลและ
ใกล้เคียง ขณะที่กลุ่มทุนขนาดใหญ่จากแดนไกลก็เริ่มทยอยเข้ามาบ้างแล้ว

ที่นี่ สามารถเช่าเรือออกไปดำน้ำตามหมู่เกาะต่างๆ ได้ครบทุกเกาะภายในวันเดียว ตาม
โปรแกรมจะมีสองแบบคือ ดำน้ำเกาะรอบนอก และดำน้ำเกาะรอบใน

วันนี้คลื่นลมไม่เป็นใจ ถ้าหากเลือกไปดำน้ำเกาะรอบนอก เราจะเหนื่อยกับกระแสน้ำแรง
จากคลื่นใหญ่ ถ้าดำน้ำเกาะรอบในก็เหนื่อยน้อยหน่อย เพราะมีเกาะช่วยกันลมกันคลื่น
กระแส น้ำไม่แรงนัก เราจึงตัดสินใจดำน้ำเกาะรอบใน

เรือหัวโทงของชาวบ้านใน ท้องถิ่น จากชมรมเรือหางยาวเกาะหลีเป๊ะ ที่คอยรับบริการนำ
นักท่องเที่ยว ชมความงามของหมู่เกาะอาดัง –ราวี นำเราออกจากหาดชาวเลช้าๆ ลัดเลาะ
หลีก เลี่ยงไม่ให้ชนกับแนวปะการัง เมื่อเลี้ยวซ้ายผ่านร่องน้ำระหว่าง เกาะหลีเป๊ะกับเกาะอาดั
เรือค่อยๆ เร่งเครื่องขึ้น คลื่นแรงปะทะหัวเรือ น้ำแตกกระจายซัดสาดเข้ามาในเรือจนเรา
เปียกปอน

จุดแรกที่เรือจอดให้เราลง สัมผัสความงามใต้ท้องทะเลคือ กองหินใต้น้ำจะบัง ตามคำ
ร่ำลือเป็น จุดที่สวยมาก สวยที่สุด แต่วันนี้คลื่นแรง แค่เห็นผิวน้ำพะเยิบไหว เราก็กลัว
เสียแล้ว

หลังเกาะหินงามมองจากเรือลง ไปใต้น้ำ เห็นสีเขียวเข้มของกองปะการัง สีขาวอ่อนของ
พื้นทราย มีปลานกแก้วออกมาว่ายวนเวียนต้อนรับ แค่สวมแว่นดำน้ำ เอาหน้าแหย่ลงไป
เรา ก็เห็นสวรรค์อยู่แค่เอื้อม

ถึงแม้น้ำจะลึกเกิน 2 เมตร แต่เราก็เห็นทุกอย่างใต้น้ำชัดเจน ปะการัง ดอกไม้ทะเล
สัตว์น้ำ หลากสีสัน

สวย – ปลาการ์ตูนท่ามกลางดอกไม้ทะเล ในดงปะการังน้ำตื้น ตรงชายหาดชาวเล บน
เกาะหลีเป๊ะ ยามน้ำลงสุดๆ ในวันขึ้นและแรม 3 ค่ำ

โลกใต้ทะเล – ความงามดั่งสวรรค์สร้าง ที่หมู่เกาะในอุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา กลาง
ทะเลอันดามัน
(ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

เรือลัดเลาะมาด้านหน้าเกาะ หินงาม หินก้อนสีดำกลมบ้างรีบ้าง สลับกับหินสีขาว รวมตัว
กันเป็น หาดหินสวยงามสมชื่อ ใจอยากจะเก็บก้อนหินไว้เป็นที่ระลึก แต่คำสาปแช่งที่
เขียนไว้บนป้าย เตือนใจให้วางก้อนหินลง

เกาะยาง เป็นอีกจุดที่เหมาะกับการดำน้ำดูปะการัง ส่วนใหญ่เป็นปะการังดอกผักกาด
ไม่มีสีสัน เราจึงรีบออกไปเกาะราวี เกาะที่น้ำใสสวย หาดทรายขาว เราพักกินข้าวเที่ยง
กันที่นี่

จุดสุดท้ายคือหลังเกาะอา ดัง กว่าจะมาถึงจุดนี้ก็เย็นแล้ว น้ำเริ่มลดทำให้เห็นปะการังชัดขึ้น
ถึง แม้จะเริ่มหมดแรง แต่ความสวยจัดจ้านเป็นเหมือนสวรรค์ใต้น้ำ เรียกเรี่ยวแรงกลับคืน
มาได้อักโข

ขากลับขึ้นฝั่งสตูล เราเลือกเรือเรือสปีดโบ๊ทเที่ยวสุดท้าย

กว่าเรือจะมาถึง เราและกลุ่มนักท่องเที่ยวขึ้นไปลอยเคว้งคว้างรออยู่บนโป๊ะกลางน้ำ
สายตาก็เหลือบไปเห็นรถและเครื่องจักร กำลังปรับพื้นที่อยู่ทางด้านซ้ายของอ่าวพัทยา

พลันภาพในจินตนาการของ การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา บนชายฝั่งละงู ที่จะเกิดขึ้น
ใน เร็ววัน ซ้อนทับด้วยภาพความงามใต้ทะเลที่หมู่เกาะอาดัง – ราวี ตามด้วยสภาพความคึกคัก
ของธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดสตูล ก็โผล่ขึ้นมาในมโนสำนึก

อนาคตของทรัพยากรการท่อง เที่ยว และธุรกิจท่องเที่ยวของจังหวัดสตูลที่เติบโตขึ้นทุกวัน
จะ เป็นเช่นไร ดูเหมือนมีคำตอบรออยู่ข้างหน้าโน้นแล้ว

No comments: