Google
 

Monday, May 10, 2010

ล่องโขงสู่หลวงพระบาง ๗ เย็นย่ำกลางน้ำโขง-เจดีย์ทราย

ล่องโขงสู่หลวงพระบาง ๗ เย็นย่ำกลางน้ำโขง-เจดีย์ทราย

วัน ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๓ วันนี้ช่วงบ่ายเขาปล่อยให้เราเที่ยว อย่างสบาย ๆ ในหลวงพระบาง พูดง่าย ๆ คือต่างคนต่างไป จะไปไหนก็ไป สบายดี

แม่ น้ำโขงตรงวัดเชียงทอง มีสันดอนเกิดขึ้นขนาดใหญ่ ชาวลาวจะฉลองสงกรานต์กันที่นี่ในวันนี้ โดยมีการก่อเจดีย์ทรายตรงนั้นเลย ดังนั้นเราจึงพากันลงเรือข้ามฟากไปยังแห่งนั้น

มี ร้านรวงมาตั้งมากมาย แต่ละซุ้มแต่ละร้าน รวมถึงกระโจมของวงต่าง ๆ เปิดเพลงดังสนั่นหวั่นไหว ผู้คนก็ทั้งกรี๊ดทั้งเต้นกันตามจังหวะ ด้านหลังมีห้องน้ำสาธารณะอยู่เรียงราย โปรดใช้บริการห้องน้ำชั่วคราว ได้ตามความสะดวก ดูภาพกันเองนะครับ หาดสันดอนแห่งนี้ วันนี้เป็นแหล่งรวมนักท่องเที่ยวทั้งคนลาว และชาวต่างชาติ ทุกเชื้อชาติ และเป็นจุดที่สำคัญของวันนี้ เพราะเขามีความสนุกสนานกันเต็มที่ หนุ่มสาวชาวหลวงพระบางและจากที่อื่น ๆ ก็ร่วมกันสังสรรอย่างหรรษา เรื่องดื่มเรื่องเมาก็คงเป็นสิ่งปกติในงานฉลอง ธรรมดามนุษย์โลกคงหนีไม่พ้น แม้จะถูกบัญญัติไว้เป็นข้อห้ามในหลักศาสนา พุทธอย่างชัดเจนก็ตาม แต่กาลเทศะและตัวเราเองควรจะเป็นสิ่งกำหนด ความเหมาะสมในการเสพสิ่งเหล่านี้

พวกผม เดินผ่านบริเวณนั้นไป เพื่อที่จะขึ้นไปดูวัดอีกแห่งหนึ่งตรงเนินเขา ที่วัดแห่งนี้ต้องเสียค่าเข้า คือเราต้องซื้อ “ปี้” ด้วย ราคาคนละ ๕,๐๐๐ กีบ (๒๐ บาท) เมื่อขึ้นไปถึงก็จึงได้เห็นว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง แต่ยังมีคนมาสักการะ มีเพียงวิหารที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ แต่ปูนส่วนต่าง ๆ เริ่มกระเทาะแล้ว อีกทั้งหน้าบรรณที่ประดับด้วยไม้แกะสลักก็หลุดกร่อน ไปหมด

ว่า กันว่า วัดแห่งนี้สร้างโดยเจ้าครองนครน่าน สมัยที่ยกทัพมาตีเมืองหลวง พระบางแล้วได้ชัยชนะ มีอายุราว ๓๐๐ ปี เราพากันเดินลงมาทางเดิม แวะซื้อน้ำเปล่าขวดละ ๒,๐๐๐ กีบ มะพร้าวห้าวลูกละ ๕,๐๐๐ กีบ ที่เรียกเช่นนั้น เพราะมันไม่ใช่มะพร้าวอ่อน แต่กินน้ำมะพร้าว เนื้อมันแข็งแล้ว นั่งคุยกับแม่ค้าให้หายเหนื่อยก่อน เลยสั่งส้มตำมากินกัน จานละ “สิบพันกีบ” ป๊าด ส้มตำหลวงพระบางแพงกว่าบ้านเรา เสียอีก ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ทุกอย่าง “ซื้อ” เขามาทั้งนั้น

เสร็จ แล้วเราก็ลัดเลาะไปทางริมแม่น้ำโขง ปรากฎว่ามีวัดอีกแห่งหนึ่ง คือวัด ล้องคูน วัดนี้ มีความสมบูรณ์ ไม่ใช่วัดร้าง พระวิหารที่ตั้งขนาดกับแม่น้ำโขง นั้น มีขนาดไม่ใหญ่ มีภาพวาดจีนโบราณอยู่ด้านหน้า ส่วนด้านในนั้น มีภาพวาดจิตกรรมฝาผนัง ที่มีภาพเกี่ยวกับเมือง และ ชาวต่างชาติด้วย

เลยไปหน่อยเป็นวัดถ้ำเวียงแมน ซึ่งเราก็ต้องเสียค่า “ปี้” อีกครั้ง และต้องเดินลงไป ซึ่งถ้ำแห่งนี้มืดมาก มีไฟฟ้า แต่ติดแค่ ๒ หลอด เราจึงเอาเทียนจุดเดินลงไป พร้อมกับนักท่องเที่ยวชาวลาว และต่างชาติอื่น ๆ เดินสุ่ม ๆ กันไป ข้างในไม่มีอะไร นอกจากพระพุทธรูปไม้แกะสลัก ซึ่งมีอยู่ในถ้ำเป็นจุด ๆ

ออก มาแล้วเราจึงเดินกลับทางเก่า และลงไปยังสันดอน เดินลัดกลุ่มผู้คนไปจนถึงท่าเรือ เราเห็นเขาก่อเจดีย์ทรายกัน เลยรีบจัดการโดยทันใด เสร็จภายในไม่ถึง ๕ นาที ก็เรียกได้ว่า ทำภาระกิจเสร็จสรรพครบถ้วน ที่ได้ข้ามมาก่อเจดีย์ทราย

นั่ง เรือกลับ ๓ คน ต่อรองได้ ๒๐ บาท ค่าโดนสายเรือข้ามฟาก คนละ ๒,๐๐๐ กีบ แต่จ่ายไปเท่านั้นเอง เราขึ้นฝั่งตรงหน้าวัดเชียงทองพอดี

วันนี้ เรือข้ามฟากคงมีรายได้ดีจากนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการ นึกภาพย้อนไปก่อนหน้านี้ ตอนขามานั่งเรือข้ามไปถึงสันดอนด้านโน้น ก่อนถึงฝั่งเล็กน้อย มีหนุ่มชาวลาว ๒ คน ว่ายน้ำโชว์พลังอยู่ห่างฝั่งราว ๑๐ กว่าเมตร เราก็นึกว่าเขาเล่นน้ำ แต่ดูไปดูมา สีหน้าของสองหนุ่มชักไม่ค่อยดี แต่ละคนต่างพยายามพยุงตัวเองให้เหนือ น้ำ หน้าตาเคร่งเครียด ไม่รู้ว่ายมาอยู่แถวนี้ได้ไง จนคนในเรือต้องช่วยกันร้องตะโกนให้เรือที่ไล่หลังมาช่วยรับพวกเขา หน่อย เพราะกำลังจะจมน้ำกันอยู่แล้ว นับว่าเป็นความโชคดีที่ช่วยไว้ได้ ทัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “อย่าประมาท” แม้จะว่ายน้ำเป็นหรือว่ายน้ำเก่งก็ตาม

เมื่อ ขึ้นฝั่งด้านนี้ บนถนนหนทางก็ยังมีการสาดน้ำกันเหมือนเมื่อวาน และยังคงสนุกสนานกันเหมือนเดิม พวกเราพากันเดินไปตามถนน ก็โดนสาดน้ำบ้าง เดินกันมาเรื่อยจนถึงที่พัก ก่อนถึงเล็กน้อย มีกลุ่มหนุ่มสาดน้ำอยู่ มารดน้ำให้อย่างสุภาพ พร้อมทั้งอวยพรปีใหม่ให้ด้วย สงสัยเขาเห็นหน้าป้อม และผู้ติดตามของผมแล้วนึกว่าคนไกล พอเธอตอบกลับไปว่า “ขอบคุณค่ะ” หนุ่ม ๆ แปลกใจ “นึกว่าคนอินเดีย” ถึงที่พักก็อาบน้ำเตรียมตัวไปรับประทาน อาหารค่ำกัน วันรุ่งขึ้นจะไปเที่ยววัดและน้ำตกกวางสี

อาหาร มื้อเย็นวันที่ 15 เมษายน 2553 มื้อนี้เรามีความ “พิเศษ” ตรงที่พวเราจะได้เข้าร่วมพิธี “บายศรีสู่ขวัญ” กันด้วย เมื่อได้เวลาแล้ว ก่อนรับประทานอาหาร เราก็ไปรวมกันที่บายศรีอันใหญ่ หมอสู่ขวัญ หรือเรียกว่า หมอทำขวัญบ้านเรา ก็มากันหลายคน อาจจะเป็นเพราะพวกเรามีจำนวนมากนั่น เอง การทำขวัญนี้ รวมอยู่ในโปรแกรมท่องเที่ยวเรียบร้อย เรื่องข้าวของต่าง ๆ เครื่องทำขวัญ ขนมต่าง ๆ เว้นแต่ “ค่าทำขวัญ” ก็สุดแท้แต่ศรัทธา เพื่อทำพิธีเสร็จ ก็ผูกข้อมือ ซึ่งหากใครผูกได้เยอะ (มากกว่า ๕ หมอ) ก็จะดี ผมเลยผูกเต็มข้อมือเลย และก็รับพรกัน อย่างเต็มอิ่ม

หลัง จากนั้นเราก็เริ่มรับประทานอาหารกัน มีการแสดงจากเด็กนักเรียนให้ชม หลายชุด โดยการจำลองเป็นเผ่าต่าง ๆ และมีชุดที่เรียกได้ว่า “ลาวสามัคคี” อะไรนี่แหละ พวกเขาร้องเพลงเหมือนมีความหมายในการรวมชาติจากหลายเผ่าพันธุ์ และเต้น “บัดสะลบ” ซึ่งผมก็ไม่ได้ลองเต้นกับเขาหรอกครับ

ค่ำ คืนนี้เลยได้รับพรจากการทำขวัญ ได้รับประทานอาหารอร่อย ได้ชมการแสดงที่น่ารัก และหลังจากนั้นใครจะไปเดินตลาดมืดอีกก็เชิญตาม สบาย แต่ผมไปเล่นอินเตอร์เน็ต ในอัตราชั่วโมงละ ๖,๐๐๐ กีบ ๒ คนกับป้อม เล่นไปล่มไปบ่อยครั้ง และมันก็อืดเป็นปกติ แต่มีภาษาไทยด้วยครับ เสร็จแล้วก็เดินกลับที่พัก เพื่อเตรียมตัวตื่นแต่เช้า เดินทางกลับไทยในวันพรุ่ง

No comments: